หลังโควิด-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมความงามและการดูแลสุขภาพมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทรนด์การดูแลสุขภาพ
Global Wellness Institute (GWI) คาดการณ์ว่า ปี 2568 “เศรษฐกิจเพื่อสุขภาพทั่วโลก” (Global Wellness Economy) จะมีมูลค่าประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 230 ล้านล้านบาท
เมื่อย้อนไปดูในปี 2562 พบว่า “เศรษฐกิจเพื่อสุขภาพของทั่วโลก” มีมูลค่ากว่า 4.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2563 ที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 145 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น
- มูลค่าจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4.36 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 14 ล้านล้านบาท
- ธุรกิจสปา 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2.2 ล้านล้านบาท
นอกจากนั้น GWI ยังคาดการณ์ด้วยว่า ตั้งแต่ปี 2563-2568 ธุรกิจสปาจะมีการเติบโตเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่อัตรา 17.2% ส่วนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จะเติบโตเฉลี่ยที่อัตรา 20.9%
หันกลับมาดูที่ประเทศไทยซึ่งที่ผ่านมา มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ และ “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” ก็กลายเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ภาครัฐสนับสนุน สอดคล้องกับการเดินหน้าสู่ Medical Hub ของไทย ข้อมูลจาก ธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า ในปี 2562
- ไทยมีนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ที่ 12.5 ล้านคนต่อปี
- สร้างรายได้ 409,200 ล้านบาท
- เกิดการจ้างงาน 530,000 คน
นโยบายทางการท่องเที่ยวปี 2565 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงให้ความสำคัญกับการทำ Marketing ที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่าง Medical Tourism และ Health & Wellness Tourism ซึ่งมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นและเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 80,000 – 120,000 บาท แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> “เหงือกบวม” อาการแบบไหน ควรพบแพทย์